กิจกรรม 5ส.
ความหมายของ 5ส
กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่มีระบบและแนวปฏิบัติ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น รวมไปถคึงในด้านความปลอดภัย ในส่วนงานด้านการผลิตและด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง
การดำเนินกิจกรรม 5ส. เป็นการสร้างพื้นฐานให้กับพนักงานในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและสร้างความปลอดภัย รวมถึงการลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นต่องานที่ทำด้วย ซึ่งกิจกรรม 5ส. ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย การดำเนินกิจกรรม 5ส. ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องให้ พนักงานเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรม 5ส. ดังนั้นบริษัทจึงมีการส่งเสริม และผลักดันให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึก และความตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5ส. จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมาย ที่บริษัทกำหนด และสิ่งสำคัญคือการอบรมให้พนักงานทุกคนทราบขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5ส. จึงเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญเพื่อให้พนักงานดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและทำให้บริษัท ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และสอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มผลผลิตที่สามารถต่อยอดเพื่อสร้างคุณภาพให้แก่องค์กร ไปสู่โครงการอื่นๆ เช่น TPM , TQM , QCC , 7 Waste และกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตอื่นๆ ได้อีกด้วย
กิจกรรม 5ส. ประกอบด้วย
1.สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป
2. สะดวก Seiton (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที
3. สะอาด Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ
4. สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป
5. สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ4ส หรือสิ่งที่ กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม 5ส.
– เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมองเห็นความสำคัญของการทำ 5ส.
– เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส. ในองค์กร
– เพื่อให้พนักงานมีความรู้พื้นฐานของกิจกรรม 5ส.
– เพื่อให้พนักงานเข้าใจและเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5ส.จากการเริ่มต้นสู่ความสำเร็จ
– เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักเกิดสำนึกการประยุกต์ 5ส. เพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จ
– เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ 5ส. เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้องค์กร
– เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ตัวอย่างของการดำเนินกิจกรรม 5ส. ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในองค์กร
– เพื่อให้พนักงานได้ศึกษากลยุทธ์การดำเนินกิจกรรม 5ส. ให้สนุกแบบไม่น่าเบื่อ
เหตุผลที่กิจกรรม 5ส ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
5ส เป็นเทคนิคที่ทุกคนสามารถเข้าใจแนวทางการปฏิบัติได้ง่าย อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงเครื่องมือทำความสะอาด ซึ่งใช้งบประมาณต่ำ ผู้ทำ 5ส ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มพื้นที่ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเรื่องการทำงานเป็นทีม สมาชิกในพื้นที่ได้ร่วมกันวางแผนและลงมือปรับปรุงพื้นที่ ปฏิบัติงานของตนเอง และกลุ่มกิจกรรม 5ส ยังช่วยเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำให้แก่หัวหน้าพื้นที่อีกด้วย พื้นที่ในองค์กรได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมีการจัดเก็บสิ่งของเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาของหรือเอกสาร ในการปรับปรุงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้และเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการสร้างนิสัย และการมีวินัยในหน่วยงานการปฏิบัติกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันจะเสริมสร้างลักษณะนิสัยและความเป็นระเบียบวินัยให้แก่ผู้ปฏิบัติกิจกรรม สิ่งของในที่ทำงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.welovesafety.com/15108991/บทความ-5-ส
ภาพกิจกรรม
วันสารทจีน
ความสำคัญ และ ประวัติของวันสารทจีน
วันสารทจีน หรือ เทศกาลสารทจีน (Sart Chin Day or Ghost Festival or Spirit Festival) ตรงกับเดือน 7 ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน ที่โดยปกติแล้วจะช้ากว่าปีปฏิทินทางจันทรคติของไทยประมาณ 2 เดือน ซึ่งตามปีปฏิทินทางจันทรคติของไทยวันสารทจีนจะตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 วันไหว้สารทจีน 2565 ตรงกับวันที่เท่าไหร่นั้น คำตอบคือ วันที่ 12 สิงหาคม 2565 นับว่าเป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับชาวจีน เป็นช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษด้วยการเซ่นไหว้ อีกทั้งยังเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายขึ้นมารับส่วนกุศลผลบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ไว้ได้อีกด้วย
เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
Zhongguo nongli qiyue shiwuri shi Zhongyuan Jie.
จงกว๋อ หนงลี่ ชีเยฺว่ ฉือหวู่รื่อ ฉื้อ จงเยฺวี๋ยน เจี๋ย
วันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน คือ วันเทศกาลจงเยฺวี๋ยน วันเทศกาล Zhongyuan ของจีน หรือที่เราเรียกว่า วันสารทจีน เป็นวันซึ่งทุกครอบครัวทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้น บางครั้งชาวจีนจึงเรียกวันดังกล่าวว่า GuiJie กุ่ยเจี๋ย หรือ Wangren Jie หวางเหรินเจี๋ย
Gui = ผี ซึ่งเป็นคำเรียกคนที่ถึงแก่กรรมแล้ว
Wangren = คนที่ตายไปแล้ว
Jie = เทศกาล
GuiJie หรือ Wangren Jie จึงแปลว่า เทศกาลเซ่นไหว้ผู้ซึ่งล่วงลับไปแล้ว
ชาวจีนเชื่อกันว่าวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันซึ่งวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน เพราะฉะนั้น ในวันนี้ชาวจีนจะทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน
ตำนานวันสารทจีน
ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง
ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ท้าวมัจจุราช) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
AMS ร่วมแรงร่วมใจ รับผิดชอบต่อสังคม
ทางบริษัทตระหนักถึงความปลอดภัยต่อส่วนรวม จึงมีมาตรการ การดูแลและป้องกันความปลอดภัยให้กับพนักงานทั้งบริษัท เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยบริษัทได้จัดหาชุดตรวจเชื้อโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK) เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้กับพนักงานทุกท่านก่อนเดินทางกลับบ้าน หรือภูมิลำเนาที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด และมีกำหนดตรวจอีกครั้งก่อนกลับเข้ามาทำงานในบริษัท เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19
คำแนะนำและวิธีการป้องกันเชื้อไว้รัสโควิด 19 เบื้องต้น
– ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส
– การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing)
– หมั่นล้างมือบ่อยๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์
เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19 ควรงดการเดินทางไปในพื้นที่สุมเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เพราะหากเราขาดความใส่ใจเพียงนิดเดียว ตัวเราเองอาจกลายเป็นผู้ส่งต่อโรคร้ายให้กับคนมากมายโดยไม่คาดคิด
การตรวจเชื้อโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK)
ให้พนักงานตรวจก่อนกลับบ้าน หรือภูมิลำเนาที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2564
ให้พนักงานตรวจก่อนกลับ เข้าทำงานในบริษัท ในวันที่ 04 มกราคม พ.ศ.2565
การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโควิด19 (COVID-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้อได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วย ดังนั้น บริษัทเราจึงมีมาตราการและวิธีการป้องกันเชื้อไว้รัสโคโรนา ดังนี้
1. พนักงานทุกท่าน ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส ที่สามารถแพร่กระจายผ่านทางลมหายใจหรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก ไอ จาม
2. พนักงานทุกท่าน ต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิ ก่อนเข้างาน
3. การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ควรรักษาระยะห่างอยู่ที่อย่างน้อย 1-2 เมตร เพราะเชื้อไวรัสนั้นสามารถติดต่อได้ผ่านละอองขนาดเล็กที่มาจากการไอหรือจามได้
4. หมั่นล้างมือ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
5. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ จาน ช้อน ฯลฯ
6. ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก ถ้าไม่จำเป็น
7. ควรรับประทานอาหารที่สุกแล้ว งดอาหารดิบ และเนื้อสัตว์ป่า
8. งดการเดินทาง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ งดไปในพื้นที่สุมเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้จากการติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 มีดังนี้
– มีไข้สูง > 37.5 องศา
– ไอ
– เจ็บคอ
– น้ำมูกไหล
– หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก
วิธีสังเกตอาการ
หากได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้
การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาในบริษัท
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวทช. https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/13061-who-china-joint-mission
การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ
1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น
5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม