ร่วมบริจาคโลหิต สภากาชาดไทย
“โลหิต” หรือ “เลือด” เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญในการใช้รักษาผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใดมาใช้ทดแทนโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องมีการรับบริจาคโลหิตจากคน เพื่อให้ได้มาซึ่งโลหิตสำหรับใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย
“การบริจาคโลหิต” คือ การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิต เพราะร่างกายของแต่ละคนมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายจะใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โดยสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ ทั้งนี้ กระบวนการในการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนจนบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำบริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ประมาณ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค
การบริจาคโลหิตเป็นเรื่องจำเป็น และยังไม่มีสิ่งใดทดแทนได้
ผู้ป่วยต้องการโลหิตทุกวินาที
ได้ทราบข้อมูลสุขภาพของตัวเอง
ได้ทราบระบบหมู่โลหิต ทั้งระบบ ABO และ Rh
ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และทำให้มีความสุข ส่งผลให้สุขภาพดี
บริจาคโลหิต 1 ถุง ช่วยผู้ป่วยได้อย่างน้อย 3 ชีวิต
โลหิต 1 ถุง นำไปช่วยผู้ป่วยได้อย่างไรบ้าง?
การจัดหาโลหิตบริจาคให้เพียงพอและปลอดภัยต่อทั้งผู้ให้และผู้รับ จากผู้มีจิตศรัทธาที่มีสุขภาพดี แบ่งเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาด้วยการรับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิตกว่าร้อยละ 23 และอีกร้อยละ 77 สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเพื่อใช้ในการผ่าตัด ซึ่งมักจะเป็นการใช้โลหิตในปริมาณมากและเร่งด่วน รวมถึงโรคนานาชนิด อีกประการหนึ่ง คือ ในบางช่วงอาจเกิดโรคระบาดที่ต้องการใช้โลหิต เช่น โรคไข้เลือดออก ทำให้ปริมาณการใช้โลหิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การบริจาคโลหิตแต่ละครั้ง สามารถปั่นแยกเป็นส่วนประกอบโลหิตได้มากกว่า 3 ส่วน ช่วยชีวิตได้มากกว่า 3 ชีวิต และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิตได้อีกมากมาย เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
เกล็ดเลือด นำไปรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดแดง นำไปรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ไขกระดูกฝ่อ ผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากการ ผ่าตัดหัวใจ อุบัติเหตุ ตกเลือดจากการคลอดบุตร
พลาสมา นำไปรักษาผู้ที่มีอาการช็อกจากการขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต 3 ชนิด ได้แก่ แฟกเตอร์ 8 (Factor VIII) รักษา
โรคฮีโมฟีเลีย เอ อิมมูโนโกลบูลิน (IVIG) รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง อัลบูมิน (Albumin) รักษาไฟไหม้น้ำร้อนลวก และโรคตับ
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
กิจกรรม 5ส.
ความหมายของ 5ส
กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่มีระบบและแนวปฏิบัติ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น รวมไปถคึงในด้านความปลอดภัย ในส่วนงานด้านการผลิตและด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง
การดำเนินกิจกรรม 5ส. เป็นการสร้างพื้นฐานให้กับพนักงานในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและสร้างความปลอดภัย รวมถึงการลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นต่องานที่ทำด้วย ซึ่งกิจกรรม 5ส. ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย การดำเนินกิจกรรม 5ส. ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องให้ พนักงานเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรม 5ส. ดังนั้นบริษัทจึงมีการส่งเสริม และผลักดันให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึก และความตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5ส. จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมาย ที่บริษัทกำหนด และสิ่งสำคัญคือการอบรมให้พนักงานทุกคนทราบขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5ส. จึงเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญเพื่อให้พนักงานดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและทำให้บริษัท ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และสอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มผลผลิตที่สามารถต่อยอดเพื่อสร้างคุณภาพให้แก่องค์กร ไปสู่โครงการอื่นๆ เช่น TPM , TQM , QCC , 7 Waste และกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตอื่นๆ ได้อีกด้วย
กิจกรรม 5ส. ประกอบด้วย
1.สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป
2. สะดวก Seiton (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที
3. สะอาด Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ
4. สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป
5. สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ4ส หรือสิ่งที่ กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม 5ส.
– เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมองเห็นความสำคัญของการทำ 5ส.
– เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส. ในองค์กร
– เพื่อให้พนักงานมีความรู้พื้นฐานของกิจกรรม 5ส.
– เพื่อให้พนักงานเข้าใจและเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5ส.จากการเริ่มต้นสู่ความสำเร็จ
– เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักเกิดสำนึกการประยุกต์ 5ส. เพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จ
– เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ 5ส. เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้องค์กร
– เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ตัวอย่างของการดำเนินกิจกรรม 5ส. ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในองค์กร
– เพื่อให้พนักงานได้ศึกษากลยุทธ์การดำเนินกิจกรรม 5ส. ให้สนุกแบบไม่น่าเบื่อ
เหตุผลที่กิจกรรม 5ส ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
5ส เป็นเทคนิคที่ทุกคนสามารถเข้าใจแนวทางการปฏิบัติได้ง่าย อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงเครื่องมือทำความสะอาด ซึ่งใช้งบประมาณต่ำ ผู้ทำ 5ส ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มพื้นที่ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเรื่องการทำงานเป็นทีม สมาชิกในพื้นที่ได้ร่วมกันวางแผนและลงมือปรับปรุงพื้นที่ ปฏิบัติงานของตนเอง และกลุ่มกิจกรรม 5ส ยังช่วยเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำให้แก่หัวหน้าพื้นที่อีกด้วย พื้นที่ในองค์กรได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมีการจัดเก็บสิ่งของเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาของหรือเอกสาร ในการปรับปรุงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้และเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการสร้างนิสัย และการมีวินัยในหน่วยงานการปฏิบัติกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันจะเสริมสร้างลักษณะนิสัยและความเป็นระเบียบวินัยให้แก่ผู้ปฏิบัติกิจกรรม สิ่งของในที่ทำงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.welovesafety.com/15108991/บทความ-5-ส
ภาพกิจกรรม
วันสารทจีน
ความสำคัญ และ ประวัติของวันสารทจีน
วันสารทจีน หรือ เทศกาลสารทจีน (Sart Chin Day or Ghost Festival or Spirit Festival) ตรงกับเดือน 7 ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน ที่โดยปกติแล้วจะช้ากว่าปีปฏิทินทางจันทรคติของไทยประมาณ 2 เดือน ซึ่งตามปีปฏิทินทางจันทรคติของไทยวันสารทจีนจะตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 วันไหว้สารทจีน 2565 ตรงกับวันที่เท่าไหร่นั้น คำตอบคือ วันที่ 12 สิงหาคม 2565 นับว่าเป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับชาวจีน เป็นช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษด้วยการเซ่นไหว้ อีกทั้งยังเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายขึ้นมารับส่วนกุศลผลบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ไว้ได้อีกด้วย
เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
Zhongguo nongli qiyue shiwuri shi Zhongyuan Jie.
จงกว๋อ หนงลี่ ชีเยฺว่ ฉือหวู่รื่อ ฉื้อ จงเยฺวี๋ยน เจี๋ย
วันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน คือ วันเทศกาลจงเยฺวี๋ยน วันเทศกาล Zhongyuan ของจีน หรือที่เราเรียกว่า วันสารทจีน เป็นวันซึ่งทุกครอบครัวทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้น บางครั้งชาวจีนจึงเรียกวันดังกล่าวว่า GuiJie กุ่ยเจี๋ย หรือ Wangren Jie หวางเหรินเจี๋ย
Gui = ผี ซึ่งเป็นคำเรียกคนที่ถึงแก่กรรมแล้ว
Wangren = คนที่ตายไปแล้ว
Jie = เทศกาล
GuiJie หรือ Wangren Jie จึงแปลว่า เทศกาลเซ่นไหว้ผู้ซึ่งล่วงลับไปแล้ว
ชาวจีนเชื่อกันว่าวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันซึ่งวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน เพราะฉะนั้น ในวันนี้ชาวจีนจะทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน
ตำนานวันสารทจีน
ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง
ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ท้าวมัจจุราช) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
AMS ร่วมแรงร่วมใจ รับผิดชอบต่อสังคม
ทางบริษัทตระหนักถึงความปลอดภัยต่อส่วนรวม จึงมีมาตรการ การดูแลและป้องกันความปลอดภัยให้กับพนักงานทั้งบริษัท เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยบริษัทได้จัดหาชุดตรวจเชื้อโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK) เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้กับพนักงานทุกท่านก่อนเดินทางกลับบ้าน หรือภูมิลำเนาที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด และมีกำหนดตรวจอีกครั้งก่อนกลับเข้ามาทำงานในบริษัท เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19
คำแนะนำและวิธีการป้องกันเชื้อไว้รัสโควิด 19 เบื้องต้น
– ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส
– การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing)
– หมั่นล้างมือบ่อยๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์
เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด 19 ควรงดการเดินทางไปในพื้นที่สุมเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เพราะหากเราขาดความใส่ใจเพียงนิดเดียว ตัวเราเองอาจกลายเป็นผู้ส่งต่อโรคร้ายให้กับคนมากมายโดยไม่คาดคิด
การตรวจเชื้อโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK)
ให้พนักงานตรวจก่อนกลับบ้าน หรือภูมิลำเนาที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2564
ให้พนักงานตรวจก่อนกลับ เข้าทำงานในบริษัท ในวันที่ 04 มกราคม พ.ศ.2565
การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโควิด19 (COVID-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้อได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วย ดังนั้น บริษัทเราจึงมีมาตราการและวิธีการป้องกันเชื้อไว้รัสโคโรนา ดังนี้
1. พนักงานทุกท่าน ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส ที่สามารถแพร่กระจายผ่านทางลมหายใจหรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก ไอ จาม
2. พนักงานทุกท่าน ต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิ ก่อนเข้างาน
3. การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ควรรักษาระยะห่างอยู่ที่อย่างน้อย 1-2 เมตร เพราะเชื้อไวรัสนั้นสามารถติดต่อได้ผ่านละอองขนาดเล็กที่มาจากการไอหรือจามได้
4. หมั่นล้างมือ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
5. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ จาน ช้อน ฯลฯ
6. ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก ถ้าไม่จำเป็น
7. ควรรับประทานอาหารที่สุกแล้ว งดอาหารดิบ และเนื้อสัตว์ป่า
8. งดการเดินทาง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ งดไปในพื้นที่สุมเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
อาการเบื้องต้นที่สังเกตได้จากการติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 มีดังนี้
– มีไข้สูง > 37.5 องศา
– ไอ
– เจ็บคอ
– น้ำมูกไหล
– หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก
วิธีสังเกตอาการ
หากได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้
การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาในบริษัท
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สวทช. https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/13061-who-china-joint-mission